Post
เวลาที่เราพูดถึงคนที่เป็นโรคซึมเศร้า หลายคนจะนึกถึงภาพของคนที่ inactive ในการใช้ชีวิต . . . ยกตัวอย่างเช่น คนที่นอนอยู่บนเตียงทั้งวัน ไม่มีแรงแม้แต่จะลุกออกจากเตียงเพื่อไปอาบน้ำ เป็นต้น . . . ภาพดังกล่าวสะท้อนความเป็นจริงของหลายคนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็จริง แต่ภาพดังกล่าวไม่ใช่ “ทั้งหมด” ของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า . . . หลายคนที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยด้วย…มีชีวิตที่ active มากๆครับ . . . พวกเขาตื่นตั้งแต่เช้ามืดเพื่อมาออกกำลังกาย พวกเขาทำงานไม่ต่ำกว่า 8-9 ชั่วโมง พวกเขาเล่นกับลูกหลังจากที่ลูกกลับมาจากโรงเรียน พวกเขาทำอาหารและทานข้าวกับคนในครอบครัว ฯลฯ . . . พวกเขา active ในการใช้ชีวิตแต่ละวันมากๆ แต่พวกเขาก็เป็นโรคซึมเศร้าด้วยเช่นกัน . . . ผมคิดว่านี่คือ “ความน่ากลัว” อย่างหนึ่งของโรคซึมเศร้าครับ . . . กล่าวคือ โรคซึมเศร้ามี “หน้าตา” ที่หลากหลายมาก . . . ตั้งแต่ “หน้าตา” ของคนที่นอนซึมอยู่บนเตียงทั้งวัน ไปจนถึง “หน้าตา” ของคนที่ใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่าง ‘productive’ สุดๆ . . . หลายคนอาจจะรู้สึก “เอะใจ” ขึ้นมา หากคนใกล้ตัวมี “หน้าตา” แบบแรก ส่งผลให้คนใกล้ตัวได้รับการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ (เช่น นักจิตวิทยา จิตแพทย์) อย่างทันท่วงที . . . แต่ถ้าหากคนใกล้ตัวมี “หน้าตา” แบบหลังล่ะก็ เราอาจจะไม่ได้รู้สึก “เอะใจ” เลยแม้แต่นิดเดียว . . . จนกระทั่ง…มัน “สายเกินไป” แล้วครับ #จิตวิทยา #siamstr
0
0